มูลเหตุแห่งการสร้าง
มูลเหตุ
พ.ศ. 2541 พระมหาเถระซิงหวินได้เดินทางไปถ่ายทอดตรีฐานมหาศีล ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ขณะนั้น Kunga Dorje Rinpoche แห่งทิเบต มีความซาบซึ้งต่อทางวัดฝอกวงซาน ที่ได้ส่งเสริมวัฒนธรรมพุทธศาสนาจีน-ทิเบตมาเป็นเวลานาน ทั้งยังจัดตั้งสมาคมวัฒนธรรมจีน-ทิเบต การประชุมพุทธศาสนานิกายเปิดและนิกายปิด และก่อตั้งมูลนิธิแสงพุทธธรรมสากล เป็นต้น อันเป็นการส่งเสริมพุทธศาสนาแห่งมวลมนุษยชาติให้เจริญรุ่งเรืองอย่างตรงไปตรงมา จึงได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุ(พระทนต์) ที่รักษาไว้เกือบ 30 ปีแด่พระมหาเถระซิงหวิน เพื่อจะได้สร้างสถานที่สักการะไว้ที่ประเทศไต้หวัน ให้พระบรมสารีริกธาตุนี้ได้เปล่งรัศมี และพระสัทธรรมได้คงอยู่นิรันดร
อนุสรณ์สถานพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้วางศิลาฤกษ์เมื่อ พ.ศ. 2546 ใช้เวลาก่อสร้าง 9 ปีจึงแล้วเสร็จในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554 พระมหาเถระซิงหวินกล่าวว่า “พระพุทธองค์มิได้ต้องการให้พวกเรามากราบไหว้ แต่สรรพสัตว์ทั้งหลายต้องการอาศัยสิ่งนี้เพื่อชำระจิตใจให้บังเกิดกุศลจิต ต้องการสัมผัสถึงพระธรรมกายผ่านการถวายสักการะพระสถูป ดำเนินชีวิตประจำวันตามอย่างพระธรรมคุณด้วยจิตที่นอบน้อม พระพุทธองค์มิได้ต้องการรัตนเจดีย์ หากแต่สรรพสัตว์นั่นเองที่ต้องการ ดังนั้นอาตมาจึงสร้างรัตนเจดีย์ขึ้นตามคำนี้ ”
แนวคิดการสร้างอนุสรณ์สถาน
พระมหาเถระซิงหวินกล่าวว่า “ อนุสรณ์สถานพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือการสร้างสรรค์ทางประวัติศาสตร์ และจิตใจของมนุษย์ อนุสรณ์สถานนี้เป็นของมหาชนขอเพียงให้มีคนต้องการ ไม่ว่าผู้ใดก็สามารถเข้าถึงได้ ที่แห่งนี้เป็นทั้งวัฒนธรรม การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ครอบครัว โรงเรียน องค์กรหรือคณะบุคคล ก็สามารถมาเชื่อมสัมพันธ์และศึกษาร่วมกันได้ ”
เป้าหมายในการพัฒนา
ภารกิจของอนุสรณ์สถานพระสัมมาสัมพุทธเจ้า