สถาปัตยกรรม

ห้องโถงใหญ่

ตั้งอยู่ที่บริเวณทางเข้า ห้องโถงใหญ่นี้มีชื่อภาษาจีนว่า“禮敬大廳”หมายถึงการสักการะพระพุทธเจ้าทั้งปวง เป็นอาคาร 3 ชั้นและชั้นใต้ดิน 1 ชั้น ภายในประกอบด้วยร้านน้ำชา ห้องรับแขก(ต้อนรับและสอบถาม) เคาน์เตอร์บริการ บริการนำชมแบบหมู่คณะ บริการนำชมด้วยภาษาต่างประเทศ แลกเปลี่ยนเงินตรา ห้องเลี้ยงเด็ก ห้องสุขา ห้องจัดแสดง ห้องรายงานข่าวย่อย ห้องอาหาร ห้องแสดงศิลปะวรรณคดีทางพุทธศาสนา บริการส่งสินค้า เป็นต้น


พระสถูป 8 องค์

ด้านหน้าของหอกลาง มีพระสถูป 8 องค์อันเป็นสัญญลักษณ์คำสอนทางพระพุทธศาสนาเรื่องอริยมรรคมีองค์แปด แต่ละพระสถูปจะมีบทบาทหน้าที่ต่างๆกันคือ :

  • พระสถูปคำสอนแห่งองค์พระศาสดา
    คำสอนแห่งองค์พระศาสดาหมายถึงพระพุทธศาสนาเพื่อมวลมนุษยชาติ พระมหาเถระซิงหวิน
    กล่าวว่า พระพุทธศาสนาแห่งมวลมนุษยชาติคือ “สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัส เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการ เป็นสิ่งที่ทำให้บริสุทธิ์ เป็นสิ่งที่ดีงาม ทุกคำสอนที่ช่วยให้ชีวิตคนเรามีความสุขเพิ่มขึ้น ล้วนเป็นคำสอนของพุทธศาสนาแห่งมวลมนุษยชาติ ” พระสถูปนี้ปกติจะใช้เป็นที่จัดการประชุม ทำกิจกรรม จัดหลักสูตรต่างๆเช่น อบรมจิตอาสา อบรมการเรียนการสอนเป็นต้น โรงเรียนและหมู่คณะต่างๆสามารถขอใช้สถานที่นี้ได้
  • พระสถูปแห่งการอยู่ร่วมกันของบรรพชิตและฆราวาส
    คำว่าชนสองกลุ่มหมายถึงกลุ่มบรรพชิตและกลุ่มฆราวาส บทบาทหน้าที่ของพระสถูปนี้คือ “เป็นสถานที่แห่งการทำดีทั้งสามของเด็กเล็ก” มีโรงละครการทำดีทั้งสาม โรงเรียนทำดีทั้งสาม พระมหาเถระซิงหวินส่งเสริมการ “ทำดี พูดดี คิดดี”
    ให้เป็นศูนย์กลางทางความคิด จึงจัดสถานที่นี้ให้เด็กๆได้มาเล่นและเรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆร่วมกัน
  • พระสถูปแห่งการทำดีทั้งสาม
    ความหมายของทำดีสามอย่างคือ “กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กายทำดี วาจาพูดดี ใจคิดดี” พระสถูปนี้ใช้เป็นสำนักงาน และยังจัดให้เป็นห้องประชุม ห้องรับแขก เป็นสถานที่ที่มีสมรรถนะที่ทันสมัยหลังหนึ่ง
  • พระสถูปแห่งการให้ทั้งสี่
    การให้สี่อย่าง เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามหลักการการทำงานของฝอกวงซานคือ : ให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้คน ให้ความปีติแก่ผู้คน ให้ความหวังแก่ผู้คน
    ให้ความสะดวกแก่ผู้คน บทบาทหน้าที่ของพระสถูปนี้คือเป็นสถานที่ทางวัฒนธรรม ให้ผู้คนสามารถเดินชมหนังสือและได้รับความสงบทางใจ
    พระมหาเถระซิงหวินจะให้กำลังใจแก่ผู้อ่านหนังสือด้วยคำสี่คำคือ “อ่านเพื่อนำมาปฏิบัติตัว อ่านเพื่อให้เข้าใจในเหตุและผล อ่านเพื่อให้รู้แจ้งในมูลเหตุ อ่านเพื่อให้รู้ใจของตนเอง” ภายในพระสถูปยังได้จัดพื้นที่พิเศษให้แก่เด็กๆ เพื่อให้เป็นที่เรียนรู้อย่างมีความสุขร่วมกันของพ่อแม่และลูก
  • พระสถูปแห่งความอ่อนโยนทั้งห้า
    ความหมายของความอ่อนโยนทั้งห้าคือ “ตนเองมีจิตใจที่สุภาพอ่อนโยน, ครอบครัวมีอัธยาศัยที่ดีต่อกัน, ทั้งเขาและเราให้ความเคารพกัน, สังคมรักใคร่ปรองดอง,โลกมีความสงบสันติ” พระสถูปแห่งความอ่อนโยนทั้งห้าจึงเป็น “บ้านแห่งความปีติยินดี” เป็นที่จัดงานเฉลิมฉลองต่างๆของ “ครอบครัว” ตั้งแต่ “งานมงคลสมรสตามแบบพุทธศาสนา” ของหนุ่มสาว จนถึง “งานเชิญขวัญ” เมื่อได้ลูกชาย “งานบรรลุนิติภาวะ” ของลูกๆ “งานอวยพรวันเกิด” ของผู้สูงอายุ หรือ “งานจบการศึกษา” เป็นต้น พิธีต่างๆนี้ล้วนจัดขึ้นที่นี่ เพื่ออวยพรและแสดงความยินดีตามรูปแบบทางพระพุทธศาสนา จะได้เห็นบรรยากาศที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข และสามารถเก็บภาพแห่งความสุขอันแสนอบอุ่นไว้เป็นที่ระลึก
  • พระสถูปแห่งบารมีหก
    พระสถูปแห่งนี้ได้ถูกตั้งชื่อขึ้นจากบารมีทั้งหกของพระพุทธศาสนาคือ “ทานบารมี ศีลบารมี ขันติบารมี วิริยบารมี ฌานบารมี ปัญญาบารมี” พระสถูปนี้จะจัดแสดง “กองทุนการศึกษาสาธารณะพระมหาเถระซิงหวิน” และ “ศิลปะการเขียนอักษรโดยลากเส้นครั้งเดียว” มีภาพยนต์ 3 มิติแสดงการเขียนอักษรจีนด้วยพู่กันของพระมหาเถระซิงหวิน ที่เขียนตัวอักษรได้อย่างล้ำเลิศจากจิตภายใน
  • พระสถูปแห่งศีลทั้งเจ็ด
    ศีลทั้งเจ็ดได้แก่ “ห้ามเสพยา ห้ามเรื่องกามารมณ์ ห้ามใช้ความรุนแรง ห้ามลักทรัพย์ ห้ามเล่นการพนัน ห้ามดื่มสุรายาเมา ห้ามพูดคำหยาบ” เมื่อปฏิบัติศีลทั้งเจ็ดได้แล้ว ย่อมทำให้ตนเอง ครอบครัวและสังคมบริสุทธิ์เป็นกุศลที่มีแต่พลังบวก พระสถูปนี้ใช้เป็นห้องรับรอง ให้ผู้คนที่มาเยี่ยมเยียนได้ดื่มชา พักผ่อนและสนทนากัน
  • พระสถูปแห่งอริยมรรค 8
    อริยมรรคมีองค์แปดคือ “สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ” ซึ่งเป็นหนทางอันประเสริฐที่จะนำเราไปสู่ความหลุดพ้นแห่งพระนิพพาน พระสถูปแห่งอริยมรรค 8ใช้เป็นห้องรับแขก และเป็นสถานที่ออกอากาศรายงานข่าวสั้น และฉายภาพยนต์แนะนำอนุสรณ์สถานพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

  • ศาลาคู่

    ทางทิศเหนือของอนุสรณ์สถานพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีสถานที่แห่งหนึ่งสำหรับให้พักกายใจชื่อว่า “ศาลาคู่” เป็นศาลาสีทองที่มีลักษณะพิเศษในระบบนิเวศวิทยา มีลมเย็นสบายที่พัดผ่านต้นไม้ใหญ่ และสระน้ำที่เต็มไปด้วยดอกบัว ช่วยส่งกลิ่นอายทางวัฒนธรรมในสังคมมนุษย์ สระน้ำและต้นไทรที่ล้อมรอบศาลาคู่ยิ่งเหมือนการเรียนนอกห้องเรียน จึงเป็นสถานที่ที่ได้เรียนรู้ธรรมชาติและชีวิตได้อย่างดียิ่ง มีคนพูดว่าศาลาคู่มีทัศนียภาพที่สวยงามมากยามที่แสงอาทิตย์สาดส่อง และมีคนพูดอีกว่า แสงสีทองอันสว่างไสวยามค่ำคืนยิ่งทำให้ศาลาคู่ดูงดงามอลังการเป็นที่สุด ชั้น 2 ของศาลาคู่มี “ห้องน้ำชาเซน” อันเป็นวัฒนธรรมการดื่มชาที่มีชื่อเสียงของจีน ชั้น 3 จัดเป็น “ห้องคัดพระสูตร” ให้ผู้คนได้มาคัด “ธรรมวาจา” และ “หฤทัยสูตร” เพื่ออบรมบ่มนิสัยและได้เข้าใจพระสูตร มี “ห้องบรรยายความรู้ด้านต่างๆ” เพื่อนำความรู้ วัฒนธรรม และศิลปะมาชำระจิตใจ อันเป็นการยกระดับวัฒนธรรมในสังคมมนุษย์ ทุกท่านจะมีความประทับใจในการร่วมกันแบ่งปันความรู้ทั้งศิลปะและวรรณคดีท่ามกลางร่มไม้ที่งดงาม


    ลานโพธิ

    เมื่อผ่านเฉิงฝอต้าเต้า(เฉิงฝอต้าเต้าหมายถึง หนทางใหญ่สู่ความสำเร็จเป็นพุทธะ) จะเป็น “ลานถ่ายรูปหมื่นคน” มีขั้นบันได 37 ขั้น อันเป็นสัญลักษณ์ของ “โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ” ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เมื่อยืนบนขั้นบันไดและหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เบื้องหลังคือพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ที่ใหญ่และสูงที่สุด เมื่อหันหลังกลับไปทางทิศตะวันตก จะมีพระสถูปแปดองค์เป็นฉากหลังที่ให้ทัศนวิสัยอันกว้างใหญ่ จึงเป็นจุดถ่ายภาพที่งดงามมากสำหรับผู้มาเยี่ยมเยือน ลานโพธิมีความกว้างและยาวด้านละ 100 เมตร มักจะใช้จัดกิจกรรมกลางแจ้งขนาดใหญ่เช่นงานประชุมใหญ่ทางศาสนาเพื่อความรักและสันติภาพ งานดนตรีพุทธศาสนาหมื่นคน งานสวนสนามแห่งชาติ งานเลี้ยงอุปรากรจีน บนลานยังล้อมรอบไปด้วยรูปแกะสลักของ 18 อรหันต์และบุรพาจารย์ของนิกายทั้งแปดทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

     

    หอกลาง

    สถาปัตยกรรมขอหอกลางเป็นทรงบาตรคว่ำตามอย่างอินเดีย ฐานเป็นหินทรายสีเหลือง ส่วนตัวหอเป็นหินทรายล้างสีสนิม บนยอดของรัตนเจดีย์เป็นที่บรรจุ “ปรัชญาปารมิตาสูตร” จำนวน 1 ล้านฉบับ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นพร้อมกับการสร้างอนุสรณ์สถานพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    วิหารอวโลกิเตศวร

    วิหารอวโลกิเตศวรประดิษฐานพระสหัสสเนตรสหัสสกรอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์(พระกวนอินพันเนตรพันกร) ซึ่งออกแบบและตั้งชื่อวิหารโดยพระมหาเถระซิงหวิน องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ปั้นและแกะสลักโดยศิลปิน หยางฮุ่ยซาน ตามอย่างองค์พระอวโลกิเตศวรที่อยู่ในถ้ำที่ 3 ของถ้ำม่อเกา นอกจากนี้ศิลปินยังได้วาดภาพพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์เป็นสีทองสว่างไสวจำนวน 33 ปางบนกำแพงกระจกรอบวิหาร นักท่องเที่ยวสามารถรับน้ำมนต์และอธิษฐานขอพรจากพระโพธิสัตว์ได้ กำแพงโค้งด้านนอกมีพระสูตร “สมันตมุขปริวรรต” พิมพ์ไว้ อันเป็นการประสานความงดงามควบคู่ไปพร้อมกับความศรัทธา

    วิหารพระพุทธรูปทอง

    ในปีพ.ศ. 2547 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระชนมายุ 90 พรรษา มีการสร้างพระพุทธรูปทองจำนวน 19 องค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์แทนถวายพระพุทธรูปทอง 1 องค์แด่พระมหาเถระซิงหวิน อันเป็นสัญญลักษณ์ของความกลมกลืนทางวัฒนธรรมระหว่างพุทธศาสนานิกายเถรวาทและมหายาน ภายในวิหารมีกล่องบรรจุธรรมวาจาทั้งภาษาจีนและอังกฤษ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้นำพระธรรมกลับบ้านด้วย

    วิหารพระพุทธรูปหยก

    วิหารพระพุทธรูปหยกเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ภายในวิหารมีพระพุทธรูปหยกปางปรินิพพานแกะสลักจากหยกขาวของพม่า ด้านหน้าของพระพุทธรูปมีกลอนคู่ที่เขียนโดยพระมหาเถระซิงหวินความว่า “พระพุทธองค์ทรงอุบัติเมื่อชีวิตฉันยังจมอยู่ในความทุกข์ หลังพระองค์ทรงดับขันธปรินิพพานฉันจึงเกิด ; เสียใจต่อบาปกรรมทั้งปวงที่กายนี้ได้ก่อไว้ จวบจนบัดนี้จึ่งได้พบพระพุทธองค์” สองฝั่งของพระพุทธรูปเป็นเป็นหินหยกสีแกะสลักภาพศุทธิไวฑูรย์โลกธาตุทางทิศตะวันออก และภาพสุขาวดีโลกธาตุทางทิศตะวันตก ส่วนกำแพงทั้งสองด้านเป็นไม้หอมแกะสลักภาพพระสถูปจากที่ต่างๆทั่วโลก อันแสดงให้เห็นถึงศิลปะอันงดงามทางพุทธศาสนา

    พระตำหนักใต้ดิน

    อนุสรณ์สถานพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระตำหนักใต้ดินอยู่ 48 ห้อง แต่ละห้องจะถูกเปิดใช้ในทุกๆศตวรรษ เป็นที่รวบรวมสิ่งที่น่าจดจำและโบราณวัตถุที่มีอยู่ทั้งในอดีตและปัจจุบันโดยใช้ “ความศรัทธา การดำรงชีพ วัฒนธรรม” เป็นแกนนำในการสืบหาและรักษาวัฒนธรรมของมนุษยชาติไว้ให้คงอยู่สืบไป เพื่อให้ผู้คนได้เข้าใจว่าพระตำหนักใต้ดินนั้นเป็นอย่างไร ที่ชั้น 1 ของอนุสรณ์สถานพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้จัดนิทรรศการ “พุทธศาสนาฟื้นคืนสู่ตำหนักใต้ดิน” ขึ้น เพื่อให้ผู้คนรู้สึกเหมือนได้เดินทางย้อนเวลาไปชมวัตถุล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนา
  • “พุทธศาสนาฟื้นคืนสู่ตำหนักใต้ดิน” แบ่งพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการออกเป็น 4 ส่วนคือ “วัดฝ่าเหมิน” “พระอวโลกิเตศวร, ตลับหิน, ขวดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ” “เครื่องใช้ในการสักการะพระพุทธเจ้า” และ “รูปแกะสลักศิลา” เป็นโบราณวัตถุจำนวน 134 ชิ้นที่ได้รับบริจาคมาจากคุณเฉินหย่งไท่ คุณเฉินไป๋อวี้เย่ ประธานกรรมการคณะเจิ้นตั้นและภริยา ที่เก็บสะสมมาจากตำหนักใต้ดินต่างๆมานับสิบปี

    หอประวัติศาสตร์ฝอกวงซาน

    “หอประวัติศาสตร์ฝอกวงซาน” ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 ของหอกลางเพื่อให้ผู้คนได้รู้จักอดีตและการมองอนาคตของพระมหาเถระซิงหวิน ผู้ก่อตั้งวัดฝอกวงซาน มีบันทึกประวัติการพัฒนาและส่งเสริมเรื่องพุทธศาสนาแห่งมวลมนุษยชาติตามความเป็นจริง นิทรรศการแบ่งออกเป็น 6 หมวด เป็นการเจาะลึกภูมิหลังและแนวคิดของท่านในการปฏิบัติโดยใช้เวลาเป็นแกนหมุนบอกเรื่องราวต่างๆตั้งแต่ “เกิด” “ออกบวช” “ข้ามทะเลมาไต้หวัน” “พุทธศาสนาของพวกเรามาแล้ว” “เริ่มก่อตั้งวัดฝอกวงซาน” “แสงพุทธธรรมส่องทั่ว 5 ทวีป” ขณะเดียวกันก็นำวัตถุประสงค์สี่ข้อของวัดฝอกวงซานได้แก่ “นำวัฒนรรมมาใช้เพื่อเผยแผ่พระธรรม” “นำการศึกษามาฝึกอบรมความสามารถของคน” “นำการกุศลมาทำประโยชน์เพื่อสังคม” “นำการปฏิบัติธรรมมาชำระจิตใจของคน” มาทำให้ผู้คนได้เข้าใจว่าสิ่งที่เรียกว่าพุทธศาสนาแห่งมวลมนุษยชาตินั้น เป็นการนำพุทธศาสนาสู่ความทันสมัยได้อย่างไร

    หอชีวประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    พระมหาเถระซิงหวินได้เขียนบทละครเรื่อง “ชีวประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” โดยจัดแสดงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนสี่มิติและการแสดงแสง สี เสียง บนฝาผนังโดยใช้เทคนิคให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วม ทำให้เห็นว่าพระพุทธองค์ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาอันเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติด้วยวิธีใด
  • เมื่อภาพยนตร์ “ชีวประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ได้ฉายออกไปแล้ว ปรากฏว่าได้รับคำชื่นชมอย่างมากจากผู้คน ช่วงตรุษจีนในปี พ.ศ.2557
  • ทางอนุสรณ์สถานพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้นำภาพยนตร์การ์ตูนสี่มิติเรื่อง “เด็กสาวผู้ยากไร้กับดวงประทีป” มาฉาย ซึ่งใช้เวลาสร้างกว่าปีโดยผู้กำกับคุณ ชวีฉวนลี่
  • หอเทศกาลพระพุทธศาสนา

    หอเทศกาลพระพุทธศาสนา คือสถานที่จัดแสดงเทศกาลต่างๆในรอบปีของพระพุทธศาสนา พระมหาเถระซิงหวินมีความคิดในการจัดวันสำคัญของพระรัตนตรัยเป็นหลักคือ วันพระพุทธ ตรงกับวันที่ 8 เดือน 4 ตามจันทรคติ วันพระธรรม ตรงกับวันที่ 8 เดือน 12 ตามจันทรคติ และวันพระสงฆ์ ตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ตามจันทรคติ รวมเรียกว่า “เทศกาลพระรัตนตรัย” วันเทศกาลเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงพระเมตตา พระปัญญาของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ นอกจากนี้ยังสะท้อนความคิดที่มีอยู่แต่เดิมของพระพุทธศาสนากับคนทั่วไป อันเป็นความกลมกลืนที่พัฒนาความศรัทธาจนกระทั่งเป็นประเพณี จึงหวังว่าทุกท่านจะได้อาศัยพระเมตตา พระกรุณาของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ มาเป็นแบบอย่างเพื่อการฝึกฝนและปฏิบัติต่อไป

    Giãng đường Đại Giác

    Giãng đường Đại Giác là một sân khấu biểu diễn lớn với nhiều công năng, có thể dung chứa 2000 người, là nơi đầu tiên ở Đài Loan có màn ánh sáng quay 360 độ, dùng hình thức ánh sáng đèn lần lần tiến vào tạo thành đèn chính ở giữa, đóa hoa sen hiện ra lúc nở lúc úp, mây cát tường rải rát bao quanh hoa sen, và cũng bởi do màu sắc biến đổi, tạo nên bảy màu rực rỡ. Vũ đài hình tròn có thể nâng lên hạ xuống là thiết kế hiện đại có thể quay theo chiều nghịch hoặc chiều thuận, khiến cho người biểu diễn có thể nhờ vào xoay tròn của vũ đài mà khán giả có thể thưởng thức rỏ diễn viên biểu diễn.

    Giãng đường Đại Giác từ khi thành lập đến nay, có nhiều đoàn biểu diễn nổi tiếng trên thế giới đến cống hiến nghệ thuật như là: đoàn nhạc dân tộc Bắc Kinh trung ương, viện kinh kịch Bắc kinh, học viện nghệ thuật philipins, học viện múa malasya; Đài Loan ca tử hý “minh hoa viên”, hòa thượng, đoàn ca tử hý “Đường Mỹ Vân”, đoàn dự kịch “Quốc Quang”, đoàn thanh niên ca vịnh Đài Bắc Phật Quang,đoàn múa thái nguyên “Sơn Tây”, Nhà hát ca múa tỉnh Phúc Kiến, đoàn múa rối Quảng Tây, viện dự kịch Hà Nam, đoàn kịch Trí Lợi Tây Ban Nha, đoàn xiếc Hà Nam, đoàn xiếc Sơn Đông, làm cho dân chúng Đài Loan không cần ngồi thuyền xe cực nhọc mà có thể miễn phí thưởng thức nghệ thuật nhân văn, nâng cao tư lương cho tâm linh.


    สี่อริยะสถูป

    ฐานของหอกลางทั้งสี่มุมมีพระสถูปอยู่ 4 องค์ แท่นบนกำแพงของพระสถูปเป็นภาพแกะสลักนูนสูง ภายในพระสถูปแต่ละองค์ จะประดิษฐานองค์พระโพธิสัตว์แต่ละพระองค์แบ่งเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ผู้ทรงมหาเมตตา พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ผู้ทรงมหาปัญญา พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ผู้ทรงมหาปณิธาน และพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ผู้ทรงมหาจริยา

  • พระพุทธรูปใหญ่ฝอกวง

    พระพุทธรูปใหญ่ฝอกวงประดิษฐานอยู่ด้านหลังของหอหลักและเป็นจุดสังเกตุของอนุสรณ์สถานพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์หนัก 1,872 ตันที่สูงที่สุดในโลก ความสูงจากฐาน 108 เมตร ส่วนองค์พระพุทธรูปสูง 50 เมตร จึงมีการริเริ่มกิจกรรมคัดพระสูตร “ปรัชญาปารมิตาสูตร 1 ล้านฉบับ” ซึ่งพระสูตรที่คัดเสร็จแล้ว จะนำมาเก็บรักษาไว้ภายในองค์พระพุทธรูปนี้ในคงอยู่ตลอดกาล

     

     

    พระตำหนักใต้ดิน

    อนุสรณ์สถานพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระตำหนักใต้ดินอยู่ 48 ห้องกระจายอยู่ด้านล่างของหอ กลาง เป็นที่เก็บรักษาวัตถุโบราณล้ำค่านับพันชิ้น ผ่านกาลเวลาทางประวัติศาสตร์ที่เป็นความทรงจำในการดำรงชีวิตจากทั่วโลก ที่แห่งนี้มีสภาวะเป็น “สุญญากาศ” เพื่อจะได้เก็บรักษาเอาไว้ให้แก่รุ่นลูกรุ่นหลาน ทั้งยังเป็นที่รวบรวมวัตถุโบราณต่างๆที่มีคุณสมบัติทางประวัติศาสตร์ วิชาการ ร่วมสมัยและเป็นเครื่องระลึกถึงอดีตจากผู้คนทั่วโลก เนื่องจากทุกๆ 100 ปีจึงจะมีการเปิดตำหนัก 1 ห้อง ดังนั้นพระตำหนักใต้ดินนี้จะต้องใช้เวลาทั้งสิ้น 4,800 ปีจึงจะเปิดครบ ขณะเดียวกัน ในทุกๆปีจะมีการจัดพิธี “บรรจุสิ่งล้ำค่าสู่ตำหนัก และ บรรจุบทคัดปรัชญาปารมิตาสูตรล้านฉบับสู่พระธรรมกาย” ด้วยการหาบขึ้นวอ(เกี้ยว) มุ่งหน้าสู่หอกลาง เพื่อบรรจุไว้ในพระตำหนักใต้ดิน

     

    งานศิลปะ

    ภาพพระจริยวัตรพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ภาพพระจริยวัตรพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมพระคาถา จำนวน 22 ภาพ แสดงพระจริยวัตรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ช่วยเพิ่มพูนสติปัญญา

    ภาพพิทักษ์สิ่งมีชีวิต

    บนกำแพงรอบระเบียงยาวของพระสถูป 8 องค์ มีภาพคำสอนแกะสลักนูนจากหนังสือ “รวมภาพพิทักษ์สิ่งมีชีวิต” อยู่ 70 ภาพ และภาพ “ธรรมวาจาฝอกวง” อีก 14 ภาพ รวมทั้งสิ้น 84 ภาพ ภาพแกะสลักนูนเหล่านี้นำมาจากหนังสือการ์ตูนเรื่อง “รวมภาพพิทักษ์สิ่งมีชีวิต” ของคุณเฟิงจื่อไข่ ประกอบกับบทกลอนเขียนอักษรพู่กันจีนของพระมหาเถระหงอี ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเมตตากรุณาและการละเว้นจากการฆ่าสัตว์ของพุทธศาสนา ทางอนุสรณ์สถานจึงได้นำแนวคิดนี้มาเผยแพร่ ภาพแกะสลักนูนนี้เป็นผลงานการแกะสลักของคุณเย่เซียนหมิง และลงสีโดยช่างเขียนเครื่องเคลือบโบราณ คุณเฉินฉี่หมิง

    ศิลปะอักษรจีน

    บนกำแพงหินแกรนิตสีดำ มี “ธรรมวาจาฝอกวง” ของพระมหาเถระซิงหวินจำนวน 75 บท แกะสลักผ่านรูปแบบอักษรที่ต่างกันจากนักเขียนอักษรจีนที่มีชื่อเสียง จึงทำให้ผู้คนได้เพลินเพลินไปกับลีลาต่างๆของตัวอักษร

    18 อรหันต์

    บริเวณสองฝั่งของลานโพธิที่อยู่ด้านหน้าของหอกลาง มีพระอรหันต์ 18 องค์ตั้งอยู่ ซึ่งไม่เหมือน 18 อรหันต์ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป พระอรหันต์ทั้ง 18 องค์ประกอบด้วยพระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระปูรณะ พระสุภูติ พระมหากัจจายนะ พระมหากัสสป พระอนุรุทธะ พระอุบาลี พระอานนท์ พระราหุล พระกาฬุทายี พระปิณโฑลภารทวาช พระจูฬปันถก พระอุบลวรรณาเถรี พระนางมหาปชาบดีเถรี พระภัททกาปิลานีเถรี พระนนทิมิตร พระเมตไตรย โดยมีพระมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะ 10 องค์เป็นหลัก รวมกับพระอรหันต์ที่มีปรากฏในพระอมิตาภสูตรและที่พบได้บ่อยในพุทธศาสนาฝ่ายจีนคือพระนนทิมิตรและพระเมตไตรย ที่สำคัญคือพระมหาเถระซิงหวิน ผู้ก่อตั้งวัดฝอกวงซานได้รวมพระภิกษุณีผู้มีคุณูปการใหญ่หลวงต่อพระพุทธศาสนา 3 องค์ไว้ด้วยคือพระอุบลวรรณาเถรี พระมหาปชาบดีเถรี และพระภัททกาปิลานีเถรี อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเสมอภาคได้อย่างเด่นชัด พระอรหันต์ทั้ง 18 องค์ ได้แก่

    งานแกะสลักหิน

    งานแกะสลักหินเป็นศิลปะที่เรียบง่ายแต่คงทน คุณอู๋หรงชื่อ ศิลปินผู้มีความชำนาญการแกะสลักระดับสากลได้แกะสลักบุรพาจารย์ของนิกายทั้งแปดทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานด้วยหินแกรนิตขาว และแกะสลัก 18 อรหันต์ด้วยหินทรายเขียวได้อย่างงดงามเสมือนดั่งมีชีวิตจริง ที่รอคอยผู้มาเยี่ยมชมได้มารู้จักและเจริญรอยตามอย่างผู้มีคุณธรรมเพรียบพร้อมในพุทธศาสนา